Penguin Jogging

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธ ที่22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

"โครงการสื่อสร้างยิ้มให้อิ่มรัก"
หลักการและเหตุผล
  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กให้เป็นไปตามวัย จากการไปสำรวจความต้องการของผู้ปกครองในมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ ( เสือใหญ่ ) พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความต้องการความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก ภาวะเศรษฐกิจและสภาพสังคมในปัจจุบัน ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้กับผู้ปกครองในเรื่อง สื่อสร้างยิ้มให้อิ่มรักขึ้น เพื่อผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างหรือผลิตสื่อจากวัสดุเหลือใช้ให้กับลูกได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก
2.เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของสื่อที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก 
3.เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถผลิตสื่อให้กับลูกได้ด้วยตนเอง
4.เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้ใช้เวลาร่วมกับลูก

เป้าหมายของโครงการ

เชิงปริมาณ    ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม เสือใหญ่ จำนวน 30 – 40 คน
เชิงคุณภาพ   1.ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย                   
                    2.ผู้ปกครองสามารถผลิตสื่อจากวัสดุต่างๆให้กับลูกได้ด้วยตนเอง

ระยะเวลาในการดำเนินการ
15 กันยายน – 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2560

สถานที่ในการดำเนินโครงการ
มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ( บ้านเสือใหญ่ )

ขั้นตอนการดำเนินงาน

งบประมาณ
2,000บาท
ค่าใช้สอย    - ค่าเดินทาง   1,000 บาท
ค่าวัสดุ        - ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสื่อและกิจกรรม   450 บาท                 
                  - ค่าแผ่นพับ     50 บาท               
                  - ค่าของที่ระลึก  500 บาท
หมายเหตุ : ได้รับการสนับสนุนด้านอาหารว่างและอาหารกลางวันจากมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ เสือใหญ่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของสื่อที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถผลิตสื่อจากวัสดุเหลือใช้ให้กับลูกได้ ช่วยให้เกิดความอบอุ่นภายในครอบครัว เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กมีโอกาสได้ใช้เวลาว่างร่วมกัน

การติดตามและประเมินโครงการ
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ความพึงพอใจอันดับที่ 1   บรรยากาศในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม  4.49  ร้อยละ 89.72
ความพึงพอใจอันดับที่ 2   การต้อนรับและการลงทะเบียน  4.24 ร้อยละ 88.86
ความพึงพอใจอันดับที่ 3   ความรู้เดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ “สื่อสร้างยิ้มให้อิ่มรัก” 4.05 ร้อยละ 81.62
          # ค่าเฉลี่ยรวม 3.38 %

18 กันยายน พ.ศ.2560 ตรวจแบบสอบถามที่จะนำไปใช้ในการสอบถามผู้ปกครอง
29 กันยายน พ.ศ.2560 และ 2 ตุลาคม พ.ศ.2560 ลงพื้นที่ทำแบบสอบถามกับผู้ปกครองเรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
4 ตุลาคม พ.ศ.2560 เล่าประสบการณ์ในการลงพื้นที่สอบถามความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
11ตุลาคม พ.ศ. 2560 ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารโครงการ (ปรับข้อมูลครั้งที่ 1) และเลือกสื่อที่จะนำไปให้ความรู้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
18 ตุลาคม พ.ศ.2560 ตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการ (ปรับข้อมูลครั้งที่ 2) และนำเสนอสื่อที่จะนำไปใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครอง
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 อาจารย์เซ็นอนุมัติให้จัดทำโครงการสื่อสร้างยิ้มให้อิ่มรัก
2 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 แจ้งรายละเอียดกิจกรรมพร้อมทั้งสอบถามเรื่องการใช้สถานที่กับทางมูลนิธิ
10 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 จัดทำบอร์ดให้ความรู้เรื่องสื่อ,พาวเวอร์พอยด์ให้ความรู้,ตัวอย่างสื่อที่จะใช้ในการทำกิจกรรมกับผู้ปกครอง,ของที่ระลึก
15 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 จำลองสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ทำกิจกรรมที่มูลนิธิและปรับแก้ข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองอีกทั้งยังได้ทำเครื่องดนตรีจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อมอบให้กับทางมูลนิธิ
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 จัดโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่อง สื่อสร้างยิ้มให้อิ่มรัก ที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพุธ ที่15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

จัดแสดงโครงการเสมือนกับการให้ความรู้ผู้ปกครองในวันที่จัดโครงการจริง นำบอร์ดให้ความรู้ แผ่นพับ ของที่ระลึก อุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้มาจัดวางให้เหมือนกับวันที่ลงพื้นที่จริง และให้เพื่อนอีกกลุ่มมาเป็นผู้ปกครองให้

ผู้ปกครองเข้างาน, พิธีกรพูดเปิดและร้องเพลงเพื่อผ่อนคลาย, เข้าสู่เนื้อหาวิชาการ, ประดิษฐ์ขวดนักสะสม(อธิบายวิธีทำ), ประดิษฐ์ตัวละครในนิทานจากช้อนพลาสติก, ประดิษฐ์โรงละคร, ผู้ปกครองออกมาเล่านิทาน, ถ่ายรูปร่วมกัน, มอบของที่ระลึกให้กับมูลนิธิ
ร้องเพลงประกอลท่าทางเพื่อผ่อนคลาย
สาธิตเล่านิทานผ่านโรงละคร




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธ ที่1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารและอื่นๆ
1. โครงการ
2. กำหนดการ
3. คำสั่งแต่งตั้ง
4. รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ที่จะนำไปให้ผู้ปกครอง
5. แผ่นพับที่ให้ความรู้กับผู้ปกครอง
6. ของที่ระลึกผู้ปกครอง

รายละเอียดของกิจกรรม
- ทำพาวเวอร์พอยด์เกี่ยวกับให้ความรู้เรื่องสื่อ
- เพลงในการนันทนาการ
- ตั้งคำถามและให้รางวัลเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
- ตัวอย่างของสื่อที่จะประดิษฐ์ พร้อมอธิบายวิธีทำ
- ผู้ปกครองทำแบบประเมินโครงการ

ของทีระลึกที่จะจัดทำขึ้นเพื่อมอบให้กับผู้ปกครอง



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ตรวจความคืบหน้าของโครงการจากอาทิตย์ที่แล้ว รวมทั้งตรวจสอบคำสั่งแต่งตั้งกับเนื้อหาที่จะให้ความรู้ผู้ปกครองด้วย ให้คำแนะนำและปรับแก้ไขเพิ่มเติม

สื่อสำหรับที่เราจะนำไปให้ความรู้กับผู้ปกครอง
ขวดนักสะสม
 ช้อนบทบาทสมมติ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธ ที่11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

  ตรวจสอบโครงการระยะขั้นต้น ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงาน โดยพูดถึงสื่อที่จะนำไปให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ร่วมกันตกลงภายในกลุ่ม และอาจารย์ได้ทำการตรวจสอบโครงการ ซึ่งยังมีบางส่วนที่จะต้องทำการแก้ไข รวมถึงให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมให้กับผู้ปกครองอีกด้วย

  ในขั้นตอนต่อไปจะต้องแสดงความคืบหน้าของโครงการคือ เขียนคำสั่งแต่งตั้ง การเตรียมเนื้อหาที่จะให้ความรู้ และเลือกสื่อที่จะให้ความรู้ผู้ปกครอง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธ ที่4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

เล่าเรื่องจากการไปสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

     จากการที่ได้ไปสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ได้ข้อสรุปว่าผู้ปกครองสนใจในเรื่องของสื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมากที่สุด รองลงมาคือภาษาและการสื่อสารกับเด็กปฐมวัย อันดับสามคือหนังสือเสริมสร้างพัฒนาการและภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีคะแนนเท่ากัน อันดับสี่คืออาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย อันดับห้าคือดนตรีบำบัดสำหรับเด็กปฐมวัยและเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีคะแนนเท่ากัน

ออกแบบแผ่นพับ
ชื่อหน่วย,การให้ความรู้,เพลง,กิจกรรมที่ผู้ปกครองร่วมทำกับเด็ก,ความคิดเห็นผู้ปกครอง
**แผ่นพับที่ได้ลองออกแบบเอง**


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันจันทร์ ที่18 กันยายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ตรวจสอบแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ ที่11 กันยายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

รูปแบบการให้ความรู้ระดับผู้ปกครอง
✪ข่าวสารประจำสัปดาห์ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองซึ่งประกอบไปด้วย 
- สาระการเรียนรู้ของเด็กประจำสัปดาห์นั้นๆ 
- พัฒนาการเรียนรู้ที่เด็กจะได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม 
- กิจกรรมครอบครัว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ทำร่วมกับเด็ก 
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง คือการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดูเด็ก
- น้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็น
จดหมายข่าวและกิจกรรม เป็นการนำเสนอความรู้หรือข้อมูลที่สนใจให้ผู้ปกครอง รงมถึงนำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครองด้วย
✪ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สามารถจัดได้ตรงบริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน นำข้อมูลมาไว้ได้หลากหลาย เช่น
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
- เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ
✪ การสนทนาเป็นรุปแบบที่สามารถเข้าถึงผู้ครองได้โดยตรง วัตถุประสงค์คือ
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

รูปแบบการให้ความรู้ระดับสถานศึกษา
ห้องสมุดผู้ปกครอง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่สามารถเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา
✪ป้ายนิเทศ จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น
✪นิทรรศการ เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถจัดได้หลายีูปแบบ เช่น วิดีโอ ภาพท้าย ผลงานเด็ก
✪มุมผู้ปกครอง เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู
✪การประชุม เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ
✪จุลสาร เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด
✪คู่มือผู้ปกครอง เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
- ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
- หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
- บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
- อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
- การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
- กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
- การวัดและประเมินผล
✪ระบบอินเทอร์เน็ต นับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป (www.)  บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
- ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
- เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
- สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก
- กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
- คำถามของผู้ปกครอง 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่4 กันยายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

 ✨โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย

โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกระทรวงศึกษาธิการ
- จัดให้กับเด็กด้อยโอกาส โดยผู้ปกครองต้องเกิดความรู้ความเข้าใจในการเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและแม่เป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ได้นำรูปแบบโครงการเยี่ยมบ้านมาจากประเทศอิสราเอล
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรวพยาบาลและสถานีอนามัย
- เป็นโครงการใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข
- ต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักในการพัฒนาเด็กช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี
- เน้นด้านสุขภาพเป็นหลัก
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย (มีในต่างประเทศด้วย)
- ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
- เร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนไทย
- ต้องการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมสำคัญ จึงจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้ โดยจะประกอบด้วย 5 อย่างด้วยกัน 
     ✪แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ 
     ✪คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 
     ✪หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์ 
     ✪ซีดี "การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์"
     ✪จัดอบรมพ่อแม่เรื่อง "การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์"
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของครอบครัว "บ้านล้อมรัก"
- ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- "พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด"
ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อ
-สร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
-ไม่ได้เน้นที่เด็กปฐมวัย
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
- ดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัยและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- พัฒนาความรู้พ่อแม่ในเรื่องของการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตมีพัฒนาตามวัยอย่างต่อเนื่อง
- เปิดบริการ "คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส" จะให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก รวมถึงดูแลสุขภาพคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ ทำคลอดตลอดจนหลังคลอดด้วย

โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในต่างประเทศ

โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
- ประเทศอิสราเอลให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา
- รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล

โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)
- ศูนย์ ALEH มีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองดังนี้
✪สอนให้รู้จักใช้สื่อของเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก
✪สอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมเล่นกับลูก
✪ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็กให้แม่ที่ไม่มีเวลาว่างเข้าร่วมศูนย์ ALEH
โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลุก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
- โครงการ HATAF
- เป็นการจัดการศึกษานอกระบบให้พ่อแม่
- ร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ
- จัดการสอนให้พ่อมแม่ที่มีลูกอายุ 1-3 ปี
- ให้พ่อแม่ได้พัฒนาการพูดคุยกับลูก
- เรียนรู้พัฒนาการของเด็ก
- สอนให้พ่อมแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้กับลูก
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปีค.ศ.1930 อเมริกาประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
- อบรมความรู้และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
- โครงการพ่อแม่ในฐานะครู (Parents as Teachers Program)
-ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
- อบรมเลี้ยงดูและการศึกษาของเด็กเล็ก
- ให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
โครงการ Brooklyn Early Childhood
- ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูสอนลูก
- ดำเนินการโดย Brooklyn Public School ร่วมกับศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก
- วิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก 2 ขวบขึ้นไป
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
- ให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
โครงการเพลย์เซ็นเตอร์
- พ่อแม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน
- "พ่อแม่เป็นครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก"
โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
- โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายรากฐานของการศึกษาปฐมวัย
- นโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง
โครงการ "พ่อแม่คือครูคนแรก" (Parents as First Teachers)
- รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่เข้าร่วมโครงการตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม
- คัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการอบรมมาเป็นผู้ให้การศึกษากับพ่อแม่รุ่นใหม่                                               
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศออสเตรเลีย
- ให้ความู้ผู้ปกครองในรูปแบบศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) ศูนย์ให้คำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี
- เจ้าหน้าที่จะคอยเช็กพัฒนาการเด็ก และมีการจดบันทึกลงสมุดสีฟ้าของเด็ก

โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart)
- เริ่มตั้งแต่ปี 2546 ในประเทศไทย
- เริ่มก่อตั้งครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ปี 2535 โดยนางเวนดี้ คูลลิ่ง
- เริ่มต้นปี 2543 ในประเทศญี่ปุ่น
- พ่อแม่ผู้ปกครองใช้หนังสือเป็นตัวสื่อกลางกับเด็กและให้เด็กรู้สึกรักการอ่าน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธ ที่30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร

เกมสื่อความหมาย อาจารย์อธิบายให้เพื่อน 1 คนฟัง แล้วให้เพื่อนออกมาทำท่าทางให้ดูว่ากำลังทำอะไร
เกมทายคำ แบ่งทีมเป็น 2 ฝ่าย อาจารย์มีคำมาให้ทีมละ 7 คำ ทีมดทายได้เยอะกว่าเป็นฝ่ายชนะ
เกมพรายกระซิบ แบ่งทีมเป็น 2 ฝ่าย ให้เพื่อน 1 คน เลือกคำจากอาจารย์แล้วจำไปบอกเพื่อนทีละคน จนถึงคนสุดท้ายให้บอกว่าเพื่อนคนแรกพูดว่าอะไร
เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร ออกมาหน้าห้อง 6 คน โดยแต่ละคนเขียนสิ่งตัวเองได้ตามลำดับ เช่น แม่ทำกับข้าวที่ห้องครัวตอนเช้าอย่างอร่อยกับลูก


ความหมายของการสื่อสาร
     การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความเข้าที่ตรงกัน

ความสำคัญของการสื่อสาร
    ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย และทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ

รูปแบบของการสื่อสาร
    รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
 รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1.เพื่อแจ้งให้ทราบ บอกกล่าวข่าวสารข้อมูล ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2.เพื่อสอน ให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านความรู้
3.เพื่อสร้างความพอใจ มุ่งใ้ดกิดผลทางด้านอารมณ์
4.เพื่อชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับยอบรับปฏิบัติตาม

ประเภทของการสื่อสาร
1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
-การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือ ไม่มีการตอบกลับ
-การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) คือ การสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร
2.จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
-การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การใช้ภาษาพูดในการสื่อสาร
-การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) คือ การใช้ภาษาท่าทาง
3.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
-การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
-การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
-การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
ธรรมชาติและพฤติกรรมกาารเรียนรู้ของผู้ปกครอง

**คำถามท้ายบท**
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเกิดความเข้าใจตรงกันทั้ง 2ฝ่าย

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ
การเข้าใจและสื่อสารให้ชัดเจนกับผู้ปกครองมีผลต่อการให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อที่จะให้การให้ศึกษาผู้ปกครองมีประสิทธิภาพที่สุด

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล คือ ผู้ส่งสารส่งสารไปให้ผู้รับสาร เช่น ครูแจ้งข่าวสารกับผลว่าต้องการให้เดกเอาของใช้ในบ้านมาคนละ 1 อย่างผ่านป้ายประกาศหน้าห้อง

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ
4.1) เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด  
4.2) ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน 
4.3) เรียนรู้ได้มีดีจากการฝึกปฏิบัติ

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ
5.1) ความพร้อม  
5.2) ความต้องการ  
5.3) อารมณ์และการปรับตัว  
5.4) การจูงใจ 
5.5) การเสริมแรง  
5.6) ทัศนคติและความสนใจ  
5.7) ความถนัด


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธ ที่22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ความรู้ที่ได้รับ "โครงการสื่อสร้างยิ้มให้อิ่มรัก" หลักการแล...